วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่10 วันที่16 ก.ค. 2552









ฮาร์ดดิสก์



ฮาร์ดดิสก์ หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (hard disk) คืออุปกรณ์บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ของบริษัท Apple ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง ฮาร์ดดิสก์นั้นไม่ควรนำไปสับสนว่าเป็นสิ่งเดียวกับไดรฟว์ซึ่งถือเป็นยูนิตทั้งยูนิตในคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยจานบันทึกหลายอันด้วยกัน, หัวอ่านและบันทึกข้อมูล, วงจรอิเล็กทรอนิกส์ของไดรฟว์ และตัวมอเตอร์ ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์ (หรือจานบันทึกนั่นเอง) นั้นเป็นแค่ตัวเก็บข้อมูลเท่านั้น ตั้งแต่เข้าสู่ช่วงคริสตศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ฮาร์ดดิสก์สามารถพบได้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ไม่เฉพาะภายในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อีกด้วย เช่น เครื่องเล่นเอ็มพีสาม, เครื่องบันทึกภาพดิจิทัล, กล้องถ่ายรูป, คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (หรือ PDA) หรือแม้กระทั่งในโทรศัพท์มือถือบางรุ่นตั้งแต่ พ.ศ. 2548 (2005) เป็นต้นมา (ซัมซุงและโนเกียเป็นสองบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายแรกที่จำหน่ายโทรศัพท์มือถือที่มีฮาร์ดดิสก์) ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20 ถึง 250 จิกะไบต์ ยิ่งมีความจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยความต้องการของตลาดในปัจจุบันที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลที่มีความจุในปริมาณมาก มีความน่าเชื่อถือในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และไม่จำเป็นต้องต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ใหญ่กว่าอันใดอันหนึ่งได้นำไปสู่ฮาร์ดดิสก์รูปแบบใหม่ต่างๆ เช่นกลุ่มจานบันทึกข้อมูลอิสระประกอบจำนวนมาก หรือระบบ RAID รวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ที่มีลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย เพื่อที่ผู้ใช้จะได้สามารถเข้าถึงข้อมูลในปริมาณมากได้ เช่นฮาร์ดแวร์ NAS (network attached storage หรืออุปกรณ์บรรจุข้อมูลเชื่อมต่อเครือข่าย) และระบบ SAN (storage area network หรือเครือข่ายบรรจุข้อมูลเป็นพื้นที่) เป็นต้น
ฮาร์ดดิสก์นั้นถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2499 (1956) โดยนักประดิษฐ์ยุคบุกเบิกแห่งบริษัทไอบีเอ็ม เรย์โนล์ด จอห์นสัน ซึ่งในขณะนั้น ฮาร์ดดิสก์มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 20 นิ้ว มีความจุเพียงระดับเมกะไบต์เท่านั้น (เทียบกับระดับจิกะไบต์ในปัจจุบัน ซึ่ง 1,000MB = 1GB). ตอนแรกใช้ชื่อว่า ฟิกส์ดิสก์ (fixed disk หรือจานบันทึกที่ติดอยู่กับที่) หรือ วินเชสเตอร์ (Winchesters) ซึ่งเป็นชื่อที่ IBM เรียกผลิตภัณฑ์ของพวกเขา, ต่อมาภายหลังจึงเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ (จานบันทึกแบบแข็ง) เพื่อจำแนกประเภทออกจาก ฟลอปปี้ดิสก์ (จานบันทึกแบบอ่อน)

หลักการทำงานของฮาร์ดดิสก์




หลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ทเลย เพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อบันทึกหรือเขียนไปแล้ว มันสามารถจำรูปแบบเดิมได้เป็นเวลาหลายปี มีความแตกต่างระหว่างเทปคาสเซ็ทกับฮาร์ดดิสก์ดังนี้

o
สารแม่เหล็กในเทปคาสเซ็ท ถูกเคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก เป็นแถบยาว แต่ในฮาร์ดดิสก์ สารแม่เหล็กนี้ จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว หรือแผ่นอะลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจนเหมือนกับกระจก

o
สำหรับเทปคาสเซ็ท ถ้าคุณต้องการเข้าถึงข้อมูลในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ก็จะต้องเลื่อนแผ่นเทปไปที่หัวอ่าน โดยการกรอเทป ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที ถ้าเทปมีความยาวมาก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์ หัวอ่านสามารถเคลื่อนตัวไปหาตำแหน่งที่ต้องการในเกือบจะทันที

o
แผ่นเทปจะเคลื่อนที่ผ่านหัวอ่านเทปด้วยความเร็ว 2 นิ้วต่อวินาที (5.00 เซนติเมตรต่อวินาที) แต่สำหรับหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ จะวิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล ที่ความเร็วในการหมุนถึง 3000 นิ้วต่อวินาที (ประมาณ 170 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

o
ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เก็บอยู่ในรูปของโดเมนแม่เหล็ก ที่มีขนาดเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับโดเมนของเทปแม่เหล็ก ขนาดของโดเมนนี้ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร ความจุของฮาร์ดดิสก์จะยิ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาสั้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะปัจจุบันจะมีความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณ 40 ถึง 200 จิกะไบต์ ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์ เก็บอยู่ในรูปของไฟล์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เรียกว่า ไบต์ : ไบต์คือรหัส แอสกี้ ที่แสดงออกไปตัวอักษร รูปภาพ วีดีโอ และเสียง โดยที่ไบต์จำนวนมากมาย รวมกันเป็นคำสั่ง หรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ มีหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์อ่านข้อมูลเหล่านี้ และนำข้อมูลออกมา ผ่านไปยังตัวประมวลผล เพื่อคำนวณและแปรผลต่อไป
เราสามารถคิดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ทางคือ

o
อัตราการไหลของข้อมูล ( Data rate) คือจำนวนไบต์ต่อวินาที ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถจะส่งไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล ซึ่งปกติมีอัตราประมาณ 5 ถึง 40 เมกะไบต์ต่อวินาที

o
เวลาค้นหา (Seek time) เวลาที่ข้อมูลถูกส่งไปให้กับซีพียู โดยปกติประมาณ 10 ถึง 20 มิลลิวินาที

การเก็บข้อมูล

ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลายๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format ) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่9 วันที่ 9 กรกฎาคม 2552

เมนบอร์ด
เมนบอร์คืออะไร
เมนบอรด์ (Mainboard) หรือบางคนเรียกว่า มาร์เธอร์บอร์ด (Motherboard ) พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นแผงวงจรขนาดใหญ่ ซึ่งมีการเชื่อมต่อวงจรต่างๆ สำหรับอุปกรณ์หลายๆ ตัวเข้าด้วยกัน ดังตัวอย่างรูปภาพ
วิธีการเลือกซื้อ การเลือกซื้อเมนบอร์ดแต่ละครั้งนั้นสิ่งที่เราต้องดูมีอะไรบ้าง
*1. รูปแบบของเมนบอร์ด เป็นเมนบอร์ดแบบไหน โดยเขาแบ่งเป็น AT , ATX , MicroATX ,FlexATX สำหรับเมนบอร์ดรุ่นเก่าๆ นั้นเป็นแบบ ATA โดยพอร์ตหลายๆ อย่างต้องใช้สายเชื่อมต่ออีกครั้งหนึ่ง ต่อมาได้รับการปรับปรุงใหม่ให้เป็นแบบ ATX ที่เราใช้กันในปัจจุบันนี้ โดยคำนึงถึงการไหลเวลาของข้อมูลต่างๆ มากขึ้น โดยปรับให้มีการส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเดิม พอร์ตต่างๆ มีการเปลี่ยนตำแหน่งจากเดิม โดยติดตั้งไว้แบบตายตัว ส่วน MicroATX กับ FlexATX นั้นเป็นเมนบอร์ดแบบ ATX ที่มีขนาดเล็ก โดยได้ตัดพอร์ตหลายๆ อย่างที่ไม่จำเป็นออกไป ทำให้มีขนาดเล็ก ออกแบบมาสำหรับเคสที่มีขนาดเล็ก และพีซีที่เน้นเรื่องพื้นที่ ส่วนการใช้งานต่างๆ ก็เหมือนเมนบอร์ดทั่วๆ ไป แต่มีข้อจำกัดในการอัพเกรดเครื่องเล็กน้อย เพราะว่าได้ตัดสล็อตต่างๆ ออกไปแล้ว แถมสล็อตสำหรับใส่หน่วยความจำก็มีน้อยด้วย ส่วนใหญ่จะมีแค่ 1 - 2 สล็อตATX FlexATX
*2. ซ็อกเก็ต / สล็อต (Socket /Slot )
ซ็อกเก็ต หรือสล็อตเป็นที่สำหรับใส่ซีพียู สาเหตุที่มีทั้งซ็อกเก็ต และสล็อต ก็คือ มีซีพียูอยู่หลายๆ แบบด้วยกัน ที่ใส่ซีพียูก็เลยต่างกันไป ซ็อกเก็ตมีหลายแบบ - ซ็อกเก็ต 7 สำหรับซีพียูเพนเทียม หรือเอเอ็มดี รุ่นเก่าๆ - ซ็อกเก็ต 370 ออกแบบมาสำหรับซีพียูเซลเลอรอน และเพนเทียมทรี รุ่นใหม่ที่ใช้แพ็กเกจแบบ FC-PGA- ซ็อกเก็ต 462 หรือ ซ็อกเก็ต A สำหรับซีพียูดูรอน และแอธลอน- ซ็อกเก็ต 423 สำหรับเพนเทียมโฟร์ - ซ็อกเก็ต 478 สำหรับเพนเทียมโฟร์ตัวล่าสุด- สล็อต 1 สำหรับเซลเรอลอนรุ่นเก่าๆ แล้วก็ซีพียูเพนเทียม ทู- สล็อต A สำหรับซีพียูแอธลอน - สล็อต 2 สำหรับซีพียู Intel? Pentium? II/III Xeon ใช้กับเซิรฟ์เวอร์
สำหรับปัจจุบันนี้ที่เรานิยมใช้กันก็คือ ซ็อกเก็ต 370 และซ็อกเก็ต A เนื่องจากมีซีพียูที่ใช้ซ็อกเก็ตทั้งสองแบบนี้ออกมาถล่มตลาดอย่างต่อเนื่องคือ เซลเรอลอน , เพนเทียมทรี , ดูรอน และแอธลอน ส่วนเพนเทียมโฟร์ นั้นยังไม่ค่อยนิยม เนื่องจากราคาแพง และประสิทธิภาพในการทำงานนั้นถ้าเทียบกับราคาแล้วยังถือว่าไม่คุ้มเมื่อนำมาใช้งานทั่วๆ ไป
*3. ชิปเซ็ต (Chipset) หัวใจของเมนบอร์ด
ชิปเซ็ตคืออะไร ชิปเซ็ตก็เป็นชิปสำหรับควบคุมการทำงานต่างๆ ของเมนบอร์ด เช่น ควบคุมระบบบัสของซีพียู หน่วยความจำ ระบบบัสของสล็อต รวมถึงการไหลเวียนของข้อมูลจากพอร์ตต่างๆ โดยชิปเซ็ตหลักๆ จะแบ่งเป็น Northbridge และ Southbridge แต่ละตัวจะแบ่งหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจน สังเกตจากเมนบอร์ดจะมีชิปเซ็ตติดตั้งอยู่ 2 ที่ด้วยกัน แต่เมนบอร์ดบางรุ่นก็ติดตั้งชิปเซ็ตมาตัวเดียว หรือเราเรียกกันว่า Single Chip โดยจะทำหน้าที่เป็นทั้ง Northbridge และ Southbridge ซึ่งส่วนใหญ่ออกแบบมาใช้กับเมนบอร์ดที่มีขนาดเล็กประเภท FlexATX หรือ MicroATX
ชิปเซ็ตที่นิยมมาติดตั้งบนเมนบอร์ดก็มีเยอะ เช่น VIA , Intel , ALI , AMD เป็นต้น สำหรับชิปเซ็ตตัวไหนดีไม่ดียังไง คงต้องดูจากสเปกที่เมนบอร์ดจะระบุมาให้อยู่แล้ว โดยแต่ละตัวก็จะมีข้อดีแตกต่างกันไป
-North Bridge ต้องติดต่อกับอุปกรณ์ความเร็วสูงหลายอย่าง ได้แก่ CPU, Memory(100 Mhz. ขึ้นไป), AGP, PCI Express และส่งสัญญาน ที่ความเร็วน้อยกว่าครึ่งหนึ่งมา Control Chip South Bridge
-South Bridge ทำงานที่ความเร็วต่ำกว่า โดยติดต่อกับ PCI, IDE Controller, Network Device, USB Device , Floppy Disk Controller , Super I/O และ Memory (66-100 Mhz.)
*4. สล็อตสำหรับหน่วยความจำ
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นสล็อตสำหรับใส่หน่วยความจำนั่นเอง โดยจะแตกต่างกันไปตามแต่ว่าเมนบอร์ดแต่ละตัวสนับสนุนหน่วยความจำแบบใหม่ ในปัจจุบันนี้หน่วยความจำที่เราใช้ๆ กันก็มี SDRAM , DDR RAM ,RAMBUS นั่นเอง แต่ละแบบสล็อตก็จะแตกต่างกันไป
*5. สล็อตสำหรับเพิ่มเติมอุปกรณ์ต่างๆ
เป็นสล็อตที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด ออกแบบมาให้เราใส่การ์ดเพิ่มเติมเข้าไป เช่น การ์ดเสียง การ์ดแสดงผล หรือการ์ดตัดต่อวิดีโอ โมเด็ม ต่างๆ สำหรับสล็อตบนเมนบอร์ดในปัจจุบันประกอบด้วย
ISA (Industry Standard Architecture ) เป็นสล็อตแบบเก่า ทำงานแบบ 16 บิต ตอนนี้บนเมนบอร์ดจะเหลือแค่ 1 - 2 สล็อตเท่านั้น บางรุ่นตัดทิ้งไปเลยก็มี เพราะอุปกรณ์ที่ออกมาในระยะหลังไม่มีการใช้สล็อตแบบนี้แล้ว
PCI (Peripheral Component Interconnect) เป็นสล็อตที่ได้รับการพัฒนาให้มีความเร็วในการทำงานมากยิ่งขึ้น โดยสามารถทำงานแบบ 32 บิต ปัจจุบันนี้ได้รับความนิยมมากที่สุด และผู้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ก็ออกผลิตภัณฑ์ที่ใช้สล็อตแบบนี้มามากมาย เช่น โมเด็ม การ์ดตัดต่อวิดีโอ ซาวน์ดการ์ด เป็นต้น
AGP (Accelerated Graphics Port) ออกแบบมาสำหรับการ์ดแสดงผลโดยเฉพาะ โดยจุดเด่นของสล็อตแบบนี้ก็คือความเร็วนั่นเอง โดยจะแบ่งเป็นความเร็วในระดับ 1,2,4X โดยปัจจุบันการ์ดส่วนใหญ่จะสนับสนุน AGP โหมด 4X อยู่แล้ว โดย AGP จะทำงานแบบ 32 บิตที่ 66 เมกะเฮิรตซ์ โดยมีความเร็วในการถ่านโอนข้อมูลสำหรับโหมด 1X ที่ 266 เมกะบิตต่อวินาที 2X ที่ 533 เมกะบิตต่อวินาที ส่วน 4X ที่ 1.07 กิกะบิตต่อวินาที
CNR (Communication and Networking Riser). สล็อต CNR นี้ออกแบบโดย อินเทล ซึ่งเป็นสล็อตที่ออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์โฮมเน็ตเวิร์ก ซึ่งได้รวมระบบแลน ออดิโอโมเด็ม เข้าไว้ด้วยกันเพื่อประหยัดต้นทุนในการผลิตการ์ดนั่นเอง โดยในขณะนี้เมืองไทยเรายังไม่นิยมใช้สล็อตแบบนี้ และยังหาอุปกรณ์ที่สนับสนุนสล็อต CNR ได้ยาก
AMR (Audio Modem Riser) เป็นสล็อตที่ออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์ที่เราเรียกว่าออดิโอโมเด็ม เป็นโมเด็มที่มีขนาดเล็ก ซึ่งได้รวมเอาความสามารถในเรื่องของเสียงเอาไว้ด้วยโดยใส่ไว้ใน codecchip ทำให้เราประหยัดสล็อตอีกด้วย เพราะไม่ต้องทำการ์ดหลายๆ ตัว ทำให้มีสล็อตเหลือสำหรับอุปกรณ์อื่นๆ แต่ในขณะนี้ในเมืองไทยยังไม่นิยมใช้กันมากนัก
*6. พอร์ตต่างๆ
พอร์ตต่างๆ ที่ว่านี้ก็คือ พอร์ตที่อยู่ทางด้านหลังเครื่อง มีไว้สำหรับต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คียบอร์ด เมาส์ ลำโพง หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ โดยพอร์ตมีอยู่หลายๆ แบบ เช่น
USB พอร์ตเป็นพอร์ตที่มีความเร็วถึง 12 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งในขณะนี้มีการพัฒนา USB 2.0 ออกมาแล้ว โดยทำความเร็วได้มากถึง 420-480 เมกะบิตต่อวินาที ตอนนี้มีอุปกรณ์ที่ออกมาสนับสนุน USB2.0 ยังน้อยอยู่ แต่คาดว่าน่าจะออกตามมาเรื่อยๆ เมนบอร์ดในปัจจุบันอย่างน้อยควรมี USB พอร์ต 2 พอร์ต แต่บางรุ่นก็มีให้เราเชื่อมต่อ USB ได้มากถึง 4 - 6 พอร์ตเลยทีเดียว
Parallel Port เป็นพอร์ตสำหรับต่อกับพรินเตอร์ สแกนเนอร์ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ออกแบบมาให้ใช้กับพาราเรลพอร์ต ส่วนโหมดมาตรฐานของ Parallel Port นั้นยังแบ่งเป็น ECP (Enhanced Capability Port) EPP (Enhanced Parallel Port) SPP (Standard Parallel Port) โดยเมนบอร์ดและอุปกรณ์ส่วนใหญ่สนับสนุน ECP และ EPP
Serial Port จะเป็นพอร์ตขนาดเล็ก สำหรับต่อกับอุปกรณ์เช่น โมเด็ม หรือเมาส์แบบเดิม โดยส่วนใหญ่จะติดตั้งมาให้ 2 พอร์ต
PS/2 Port พอร์ตแบบนี้ออกแบบมาใช้กับคีย์บอร์ดและเมาส ์โดยเฉพาะ ซึ่งทำให้ช่วยประหยัด Serial Port จะได้เอาไว้ต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้ เมนบอร์ดทุกตัวจะติดตั้งมาให้ 2 พอร์ตสำหรับเมาส์ และคียบอร์ด
MIDI Port / Game Port เป็นพอร์ตที่มักจะมากับการ์ดเสียง ออกแบบมาต่อกับอุปกรณ์ดนตรี เช่น อิเล็กโทน คียบอร์ด นอกจากนี้ยังใช้กับจอยสติ๊ก จอยแพดได้อีกด้วย
คอนเน็กเตอร์ (Connector)
คอนเน็กเตอร์ออกแบบมาสำหรับต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ผ่านทางสาย โดยจะมีอยู่บนเมนบอร์ดเต็มไปหมดเลย เริ่มด้วย
IDE CONNECTOR เป็นคอนเน็กเตอร์สำหรับต่อกับฮาร์ดดิสก์ หรืออุปกรณ์ IDE อื่นๆ เช่น CDROM , DVDROM โดยจะแบ่งการเชื่อมต่อเป็นแบบ ATA33 , 66 , 100 เป็นต้น บางยี่ห้อใฃ้ UDMA แทนคำว่า ATA ซึ่ง ATA นี้เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อ ตัวเลขด้านหลังหมายถึง ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สนับสนุน เช่น ATA100 สามารถถ่ายโอนข้อมูลได้ถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที แต่ว่าฮาร์ดดิสก์ที่เราใช้นั้นก็ต้องสนับสนุนการเชื่อมต่อแบบ ATA100 ถึงจะได้ความเร็วในระดับนี้
Floppy Connector เป็นคอนเน็กเตอร์สำหรับต่อกับฟลอปปี้ดิสก์ไดรฟ์ หรือไดรฟ์ A นั่นเอง โดยช่องนั้นจะมีขนาดเล็กว่า IDE Connector
USB Connector ออกแบบมาเพื่อให้สามารถเพิ่มเติม USB พอร์ตได้ภายหลัง โดยต่อต่อกับอุปกรณ์เพิ่มพอร์ต USB ส่วนใหญ่ติดตั้งไว้ด้านหน้าของเมนบอร์ดเพื่อต่อเข้ากับตัวเคสทางด้านหน้า สะดวกสำหรับต่อกับอุปกรณ์
IR Connector สำหรับต่อกับอุปกรณ์ประเภทอินฟาเรด เช่น การเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือ เข้ากับคอมพิวเตอร์ ซึ่งค่อนข้างหาซื้ออุปกรณ์มาต่อยากพอสมควร
WOL , WOM เป็นคอนเน็กเตอร์สำหรับต่อกับการ์ดแลน หรือโมเด็มโดยโมเด็ม หรือการ์ดแลนต้องสนับสนุนฟังก์ชันนี้ด้วย ประโยชน์ก็คือ สามารถสั่งเปิดเครื่องพีซีผ่านการ์ดต่างๆ เหล่านี้ได้
คอนเน็กเตอร์สำหรับสวิทซ์ และสายไฟต่างๆ บนเมนบอร์ดจะมีคอนเน็กเตอร์ต่างๆ เหล่านี้อยู่ โดยเป็นจุดสำหรับต่อสายจากเคส เช่น สายไฟสำหรับแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ หรือปิดเปิดเครื่อง สังเกตว่าจะมีการกระพริบของไฟ เมื่อมีการอ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ โดยการต่อสายต่างๆ เหล่านี้ต้องอาศัยดูคู่มือ เพราะว่าค่อนข้างจะเยอะ และไม่เหมือนกันในแต่ละบอร์ด
*7. ไบออส
ไบออสเป็นส่วนที่เก็บค่าพื้นฐานต่างๆ ของเมนบอร์ดเอาไว้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ พอร์ต่างๆ ตำแหน่งของการ์ดต่างๆ โดยอาศัยไฟจากแบตเตอรี่ก้อนเล็กๆ เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้ตลอดเวลา โดยรวมถึงเวลาของเมนบอร์ด้วยซึ่งสังเกตได้ว่าถ้าแบตเตอรี่ของเมนบอร์ดหมดค่าต่างๆ จะกลับไปเริ่มใหม่หมด รวมถึงวันที่ต่างๆ ด้วย สำหรับไบออสก็จะเปิดชิปติดตั้งในเมนบอร์ด มีของหลายๆ ยีห้อเช่น intel , AMI ,Award , Phoneix แต่ละยี่ห้อก็จะแตกต่างกันไป โดยเราสามารถอัพเดพ หรือ Flash ไบออสได้เพิ่มปรับปรุงให้เมนบอร์ดรู้จักซีพียูใหม่ๆ หรือแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ
*8. อุปกรณ์ออนบอร์ด
อุปกรณ์ออนบอร์ดนั้นผู้ผลิตได้ติดตั้ง คอนโทรเลอร์ชิปลงไปบนเมนบอร์ดทำให้เราไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เพิ่มเติมอีก บางเมนบอร์ดติดตั้งมาให้ครบเลยตั้งแต่ การ์ดแสดงผล โมเด็ม ซาวน์ดการ์ด การ์ดแลน ครบชุดแถมราคาถูกอีก เมนบอร์ดในปัจจุบันส่วนใหญ่จะติดตั้งการ์ดเสียงมาบนเมนบอร์ดอยู่แล้ว ซึ่งถ้าเทียบคุณภาพเสียงกับการ์ดแยกต่างหากก็คงเทียบกันไม่ได้ แต่หลังๆ ก็มีเมนบอร์ดบางรุ่นปรับปรุงและใช้ชิปที่มีคุณภาพสูงขึ้น ทำให้เสียงดีขึ้น
จะว่าไปแล้วอุปกรณ์ออนบอรดก็มีข้อดีเหมือนกัน คือทำให้เราประหยัดเงิน และไม่ต้องมายุ่งยากติดตั้งการ์ดแต่ละตัวกันอีก แต่ก็มีข้อเสียเหมือนกันคือ การอัพเกรดค่อนข้างลำบาก เพราะเขาจะตัดสล็อตต่างๆ ที่ไม่จำเป็นออกไป และอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานที่หนักๆ ส่วนใหญ่เหมาะสำหรับใช้ในออฟฟิศมากกว่า

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่8 วันที่2 กรกฎาคม พ.ศ.2552





1.ใส่แผ่นDVDบางครั้งอ่านไม่ได้
-ตรวจสอบดูว่า DVD สกปรกหรือเป็นรอยรึเปล่าแล้วใส่เข้าไปใหม่


2.บางครั้งกดสวิตซ์แล้วถาดใส่DVDไม่เลื่อนออกมา-เป็นเพราะสายพาน DVD-ROM หย่อนเกินควรจะเปลี่ยน
-หรืออาจใช้เหล็กเล็กๆพอดีรูแทงเข้าไปในรูด้านหน้าแล้วดึงออกมา


3.ใส่แผ่นไปแล้วDVD-ROMไม่อ่านแผ่น
-ตรวจสอบว่าแผ่นที่ใส่ไปเป็น บูเร หรือเปล่า เพราะDVD-ROMอ่าน บูเรไม่ได้-ตรวจสอบดูว่าใส่แผ่นกลับด้านหรือไม่


4.DVD-ROMเปิดไม่ได้ ไม่พบในMY COMPUTER "ไฟไม่เข้าควรทำอย่างไร
-ควรส่งซ่อมศูนย์ที่เราซื้อมา หรืออาจซื้อใหม่


5.DVD-ROM อ่านแผ่นช้าหรืออ่านแผ่นไม่ต่อเนื่อง
-เปลี่ยนหัวอ่านเพราะหัวอ่านอาจจะเสีย

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้าวที่จดลิขสิทธิ์


นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า ได้ยื่นจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) ข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้ ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาแห่งสหภาพยุโรปแล้ว เมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา เพื่อให้พันธุ์ข้าวไทยได้รับความคุ้มครองภายใน สมาชิกยุโรป 27 ประเทศ และไม่ให้ผลิตภัณฑ์ของไทย ถูกลอกเลียนแบบจนเกิดปัญหาเหมือนที่ผ่านมา รวมถึงช่วยประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ ข้าวหอมมะลิและอาหารไทยให้เป็นที่รู้จักในยุโรปมากขึ้น ทั้งนี้การจดทะเบียนจีไอข้าวหอมมะลิกุ้งกุลาร้องไห้ ถือเป็นการจดทะเบียนจีไอรายการแรกของประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาพิจารณา 1-2 ปี ในการตรวจสอบแหล่งกำเนิดคุณภาพตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน ก่อนจะประกาศใช้ได้ และเมื่อผ่านการจดทะเบียนแล้วผู้อื่นที่ไม่ได้อยู่ในชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้จะไม่สามารถเอาชื่อข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ไปใช้ประชาสัมพันธ์สินค้าของตนเองได้ เพราะจะถือว่าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ทันที “จีไอจะช่วยสร้างการรับรู้ของผู้บริโภค อียูให้รู้จักข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้มากขึ้น และช่วยเพิ่มมูลค่าทางการค้าด้วย เพราะต่อไปหากไทยส่งออกข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้จะต้องส่งออก แบบบรรจุถุง แล้วระบุข้างถุงว่าเป็นข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ต่างจากเดิมที่ส่งออกเป็นกอง ๆ ซึ่งขายไม่ค่อยได้ราคา นอกจากนี้กรมกำลังเจรจากับร้านเลอโน้ต ซึ่งจำหน่ายขนมหวานชื่อดังของฝรั่งเศสให้นำสินค้าจีไอของไทยไปเป็นส่วนผสมทำขนมหวาน และระบุในสูตร ทำขนมด้วยว่าเป็นสินค้าจีไอจากไทย รวมทั้งจะร่วมมือกับกรมการค้าต่างประเทศ เชิญผู้นำเข้า ข้าวของไทยมาดูแหล่งผลิตและขั้นตอนก่อนการ จำหน่ายจริงด้วย” นอกจากนี้แผนอนาคตกรมมีเป้าหมายยื่นจดทะเบียนในปีต่อไปอีกหลายรายการ อาทิ กาแฟดอยตุง จ.เชียงราย กาแฟดอยช้าง จ.เชียงราย สับปะรดภูแล จ.เชียงราย มะขามหวาน จ.เพชรบูรณ์ เป็นต้น เพื่อเป็นการรักษาลิขสิทธิ์สินค้าไทย พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์อาหารไทยให้เป็นที่รู้จัก โดยเฉพาะในยุโรปที่กำลังนิยมบริโภคอาหารไทยจำนวนมาก “กระแสบริโภคอาหารไทยกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น แต่การเข้าถึงอาจยังไม่มากนัก ซึ่งหลังจากได้ขึ้นทะเบียนในยุโรปและมีการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่อเนื่องแล้ว จะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าในสินค้าได้ และช่วยกระตุ้นให้มีการยื่นจดทะเบียนคุ้มครองแหล่งกำเนิดภูมิปัญญา พื้นฐานของไทยได้อีกในอนาคต” ทั้งนี้ได้จัดทำแผนการผลักดันการ ใช้ประโยชน์จากโครงการแปลงสินทรัพย์ทางปัญญาเป็นทุน เพื่อส่งเสริมธุรกิจใหม่ และประคองธุรกิจเก่าที่มีศักยภาพแต่ขาดแคลนสภาพคล่องด้วย.

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

พันธุ์ข้าวไทย

จุดกำเนิดและประวัติข้าวไทย
หน้า 1
พันธุ์ข้าวที่มนุษย์เพาะปลูกในปัจจุบันพัฒนามาจากข้าวป่าในตระกูล Oryza gramineae สันนิษฐานว่า พืชสกุล Oryza มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของทวีป Gondwanaland ก่อนผืนดินจะเคลื่อนตัวและเคลื่อนออกจากกันเป็นทวีปต่าง ๆ เมื่อ230-600 ล้านปีมาแล้วจากนั้นกระจายจากเขตร้อนชื้นของแอฟริกา เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ออสเตรเลีย อเมริกากลางและใต้ ข้าวสามารถเจริญเติบโตได้ตั้งแต่ความสูงระดับน้ำทะเลถึง2,500เมตรหรือมากกว่า ทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ทั้งในที่ราบลุ่มจนถึงที่สูง ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่เส้นรุ้งที่ 53 องศาเหนือถึง 35 องศาใต้ มนุษย์ได้คัดเลือกข้าวป่าชนิดต่างๆ ตามความต้องการของตน เพื่อให้สอดคล้องกับระบบนิเวศน์ มีการผสมพันธุ์ข้ามระหว่างข้าวที่ปลูกกับวัชพืชที่เกี่ยวข้อง เกิดข้าวพื้นเมืองมากมายหลายสายพันธุ์ ซึ่งสามารถให้ผลผลิตสูง ปลูกได้ตลอดปี ก่อให้เกิดพันธุ์ข้าวปลูกที่เรียกว่า ข้าวลูกผสมซึ่งมีปริมาณ120,000 พันธุ์ทั่วโลก ข้าวที่ปลูกในปัจจุบันแบ่งออกเป็นข้าวแอฟริกาและข้าวเอเชีย
ข้าวแอฟริกา (Oryza glaberrima) แพร่กระจายอยู่เฉพาะบริเวณเขตร้อนของแอฟริกาเท่านั้น สันนิษฐานว่าข้าวแอฟริกาอาจเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตศักราช
ข้าวเอเชีย เป็นข้าวลูกผสม เกิดจาก Oryza sativa กับข้าวป่า มีถิ่นกำเนิดบริเวณประเทศอินเดีย บังคลาเทศ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปลูกกันอย่างแพร่หลายตั้งแต่อินเดีย ตอนเหนือของบังคลาเทศ บริเวณดินแดนสามเหลี่ยมระหว่างพม่า ไทย ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้
Oryza sativa
: ข้าวเอเชียแบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์ :
ข้าวสายพันธุ์แรกเรียกว่าสายพันธุ์ Senica หรือ Japonica ปลูกบริเวณแม้น้ำเหลืองของจีน แพร่ไปยังเกาหลีและญี่ปุ่น เมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ เป็นข้าวเมล็ดป้อม
ข้าวสายพันธุ์ที่สอง เรียกว่า Indica เป็นข้าวเมล็ดยาวปลูกในเขตร้อนแพร่สู่ตอนใต้ของอินเดีย ศรีลังกา แหลมมาลายู หมู่เกาะต่าง ๆ และลุ่มแม่น้ำแยงซีของจีนประมาณคริสต์ศักราช 200
ข้าวสายพันธุ์ที่สาม คือ ข้าวชวา (Javanica) ปลูกในอินโดนีเชีย ประมาณ 1,084 ปีก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นแพร่ไปยังฟิลิปปินส์และญี่ปุ่น ในข้าวเอเชียแพร่เข้าไปในยุโรปและแอฟริกา สู่อเมริกาใต้ อเมริกากลาง เข้าสู่สหรัฐอเมริกาครั้งแรกประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยนำเมล็ดพันธุ์ไปจากหมู่เกาะมาดากัสกา

ตัวอย่างพันธุ์ข้าวไทย



ชื่อพันธุ์กข5 (RD5)ชนิดข้าวเจ้าคู่ผสมพวงนาค 16 / ซิกาดิสประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์พวงนาค 16 ของไทยกับพันธุ์ซิกาดิส ของอินโดนีเซีย ได้ผสมพันธุ์และคัดพันธุ์แบบสืบตระกูลที่สถานีทดลองข้าวบางเขน เมื่อปี พ.ศ.2508 จนได้สายพันธุ์ BKN6517-9-2-2การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2516ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้าต้นสูง สูงประมาณ 145 เซนติเมตรเป็นพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสงเล็กน้อย เหมาะที่จะปลูกเป็นข้าวนาปี ถ้าปลูกตามฤดูกาลจะเก็บเกี่ยวได้ปลายเดือนพฤศจิกายน แต่ถ้าปลูกในฤดูนาปรังหรือไม่ปลูกตามฤดูกาล อายุจะอยู่ระหว่าง 140-160 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเดือนที่ลำต้นสีม่วง มีรวงยาว ต้นแข็งไม่ล้มง่ายปลูกระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางก้นจุดท้องไข่น้อย



ชื่อพันธุ์กข6 (RD6)ชนิดข้าวเหนียวประวัติพันธุ์ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีแกมมาปริมาณ 20 กิโลแรด อาบเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขนและสถานีทดลองข้าวพิมาย จากการคัดเลือกได้ข้าวเหนียวหลายสายพันธุ์ในข้าวชั่วที่ 2 นำไปปลูกคัดเลือกจนอยู่ตัวได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ สายพันธุ์ KDML105'65-G2U-68-254 นับว่าเป็นข้าวพันธุ์ดีพันธุ์แรกของประเทศไทย ที่ค้นคว้าได้โดยใช้วิธีชักนำพันธุ์พืชให้เปลี่ยนกรรมพันธุ์โดยใช้รังสีการรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2520ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 154 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงทรงกอกระจายเล็กน้อย ใบยาวสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง เมล็ดยาวเรียวเมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 21 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์





ชื่อพันธุ์กข8 (RD8)ชนิดข้าวเหนียวคู่ผสมเหนียวสันป่าตอง*2 / ไออาร์ 262ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์เหนียวสันป่าตอง กับพันธุ์ไออาร์ 262 ในปี พ.ศ.2509 แล้วผสมกลับไปหาพันธุ์เหนียวสันป่าตองอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.2510 โดยผสมพันธุ์และคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขนได้สายพันธุ์ BKN6721 เมล็ดพันธุ์ผสมชั่วที่ 2 ถูกส่งไปให้สถานีทดลองข้าวขอนแก่นทำการปลูกคัดเลือกต่อ และได้เปลี่ยนชื่อคู่ผสมตามรหัสของสถานีเป็นสายพันธุ์ KKN6721 สถานีทดลองข้าวขอนแก่นได้ทำการคัดเลือกและปลูกเปรียบเทียบผลผลิต จนได้สายพันธุ์ KKN6721-5-7-4การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2521ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 150 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 23 พฤศจิกายนลำต้นและใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง ฟางแข็ง ชูรวงอยู่เหนือใบ เมล็ดข้าวค่อนข้างป้อม ลำต้นแข็งเมล็ดข้าวเปลือกสีเหลืองระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์




ชื่อพันธุ์กข13 ( RD13 )ชนิดข้าวเจ้าคู่ผสมนางพญา 132 / ผักเสี้ยน 39ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์นางพญา 132 กับพันธุ์ผักเสี้ยน 39 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน ในปี พ.ศ.2507 แล้วนำข้าวพันธุ์ผสมชั่วที่ 2 ไปปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวควนกุฎ จังหวัดพัทลุง จนได้สายพันธุ์ BKN6402-352การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2521ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นตั้งตรง สีเขียว ใบธงตก ชูรวงอยู่เหนือใบ ระแง้ถี่อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 26 กุมภาพันธ์เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลท้องไข่ปานกลางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์



ชื่อพันธุ์กข15 (RD15)ชนิดข้าวเจ้าประวัติพันธุ์ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีแกมมาปริมาณ 15 กิโลแรด อาบเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในปี พ.ศ. 2508 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวต่างๆ ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ KDML 105'65G1U-การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2521ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 10 พฤศจิกายนลำต้นและใบสีเขียวอ่อน ใบธงทำมุมกับคอรวง รวงอยู่เหนือใบ ใบยาว ค่อนข้างแคบเมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ปลายบิดงอเล็กน้อยระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.5 x 1.7 มิลลิเมตร ชื่อพันธุ์กข27 (RD27)ชนิดข้าวเจ้าคู่ผสมขาวตาอู๋ / ขาวตาแห้ง 17ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ขาวตาอู๋ กับ พันธุ์ขาวตาแห้ง 17 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน เมื่อปี พ.ศ. 2504 แล้วทำการคัดเลือกและปลูกเปรียบเทียบผลผลิตจนได้สายพันธุ์ BKN6113-79การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2524ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ วันที่ 10 ธันวาคมมีลำต้นและใบสีเขียว ทรงกอค่อนข้างตั้ง ต้นใหญ่ และใบยาวเมล็ดค่อนข้างป้อม ข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 8 สัปดาห์ท้องไขน้อยเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา= 2.3 x 7.5 x 1.8 มิลลิเมตร

ชื่อพันธุ์กำผาย 15 (Gam Pai 15)ชนิดข้าวเหนียวประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยพนักงานเกษตรอำเภอ จากอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เมื่อ พ.ศ. 2493-2494 จำนวน 99 รวง และปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวพาน และสถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ระหว่าง พ.ศ.2500-2505 คัดเลือกได้สายพันธุ์ กำผาย 30-12-15การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ุ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2505ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียวต้นสูง สูงประมาณ 168 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 30 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.8 x 7.2 x 2.0 มิลลิเมตร










ชื่อพันธุ์เก้ารวง 88 (Gow Ruang 88)ชนิดข้าวเจ้าประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยพนักงานเกษตร จากอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2493-2494 จำนวน 203 รวง แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ เก้ารวง 17-2-88การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2505ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียวเข้ม เมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาวข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 21 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 8 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา =2.2 x 7.3 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 22-26%คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม



ชนิดข้าวเจ้าคู่ผสมกำผาย 41/ เหลืองทอง 78ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง พันธุ์กำผาย 41 และพันธุ์เหลืองทอง 78 ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ในปี 2504 ปลูกศึกษาพันธุ์ เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีและระหว่าง สถานีในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ SPT6118-34การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530ลักษณะประจำพันธุ์เป็นพันธุ์ข้าวเจ้า สูงประมาณ 160-180 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 27 พฤศจิกายนลำต้นและใบสีเขียว กอตั้งตรง แตกกอดี ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ใบแคบยาว ใบธงตก รวงและคอรวงยาว เมล็ดเรียวยาวร่วงยาก มีท้องไข่ปานกลางข้าวเปลือกสีฟาง สาแหรกสีน้ำตาล และมีขนสั้นระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 9 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.6 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 27.35 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็งชื่อพันธุ์ขาวตาแห้ง 17 (Khao Tah Haeng 17)ชนิดข้าวเจ้าประวัติพันธุ์เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ชนะการประกวดเมื่อ พ.ศ.2499 แล้วนำไปปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ ทั่วประเทศ คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เมื่อ พ.ศ.2499 แต่เนื่องจากไม่ต้านทานโรคไหม้ จึงได้ยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ.2506 และได้นำกลับมาขยายพันธุ์ใหม่ ในปี พ.ศ.2508 เนื่องจากเป็นพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดี โรงสีรับซื้อและให้ราคาดี จึงเป็นที่นิยมปลูกของชาวนามาโดยตลอดการรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อปี พ.ศ.2499 และ พ.ศ.2508ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 150 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นสีเขียว กอแผ่กระจาย แตกกอดี เมล็ดข้าวมีรูปร่างเรียวยาวข้าวเปลือกสีเหลืองจางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 20 ธันวาคมระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 8 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.5 x 1.8 มิลลิเมตร

ชื่อพันธุ์นางพญา 132 (Nahng Pa-yah 132ชนิดข้าวเจ้าประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง จากอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. 2493 แล้วนำไปปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ นางพญา 37-30-132การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2505ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 175 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียว แตกกอดี คอรวงยาว เมล็ดข้าวมีรูปร่างเรียวยาวข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 16 กุมภาพันธ์ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.6 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 28-32%คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง




ชื่อพันธุ์ ขาวปากหม้อ 148 (Khao Pahk Maw 148)ชนิดข้าวเจ้าประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยนายทอง ฝอยหิรัญ พนักงานเกษตร จากอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เมื่อปี พ.ศ.2495-2496 จำนวน 196 รวง แล้วนำมาคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ขาวปากหม้อ 55-3-148การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2508ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นสีเขียว แตกกอดี ทรงกอตั้งตรง ใบกว้างและยาว เมล็ดมีรูปร่างเรียวยาวข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 3 ธันวาคมระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.6 x 1.9 มิลลิเมตร


ชื่อพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 (Khao Dawk Mali 105)ชนิดข้าวเจ้าหอมประวัติพันธุ์ได้มาโดยนายสุนทร สีหะเนิน เจ้าพนักงานข้าว รวบรวมจากอำเภอบางคล้าจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อ พ.ศ.2493-2494 จำนวน 199 รวง แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ (Pure Line Selection) และปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง แล้วปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ท้องถิ่นในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 4-2-105 ซึ่งเลข 4 หมายถึง สถานที่เก็บรวงข้าว คืออำเภอบางคล้า เลข 2 หมายถึงพันธุ์ทดสอบที่ 2 คือ ขาวดอกมะลิ และเลข 105 หมายถึง แถวหรือรวงที่ 105 จากจำนวน 199 รวงการรับรองพันธุ์คณะกรรมการการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นสีเขียวจาง ใบสีเขียวยาวค่อนข้างแคบ ฟางอ่อน ใบธงทำมุมกับคอรวง เมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาวข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายนเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.5 x 1..8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 12-17%คุณภาพข้าวสุก นุ่ม มีกลิ่นหอม

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่5

Poowadej
000010101111011011110110111001101000011000101101010011010010110
Noiruang
0111001011110110100101100100111001011110100001100111011011100110

คีย์บอร์ด

เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น
การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์
เมื่อนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานพิมพ์ภาษาไทยจึงต้องมีการดัดแปลงแผงแป้นอักขระให้สามารถใช้งานได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย กลุ่มแป้นที่ใช้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยจะเป็นกลุ่มแป้นเดียวกับภาษาอังกฤษ แต่จะใช้แป้นพิเศษแป้นหนึ่งทำหน้าที่สลับเปลี่ยนการพิมพ์ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษภายใต้การควบคุมของซอฟต์แวร์อีกชั้นหนึ่ง
แผงแป้นอักขระสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็มที่ผลิตออามารุ่นแรก ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 จะเป็นแป้นรวมทั้งหมด 83 แป้น ซึ่งเรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอ็กซ์ที ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 บริษัทไอบีเอ็มได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระ กำหนดสัญญาณทางไฟฟ้าของแป้นขึ้นใหม่ จัดตำแหน่งและขนาดแป้นให้เหมาะสมดียิ่งขึ้น โดยมีจำนวนแป้นรวม 84 แป้น เรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอที และในเวลาต่อมาก็ได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระขึ้นพร้อม ๆ กับการออกเครื่องรุ่น PS/2 โดยใช้สัญญาณทางไฟฟ้า เช่นเดียวกับแผงแป้นอักขระรุ่นเอทีเดิม และเพิ่มจำนวนแป้นอีก 17 แป้น รวมเป็น 101 แป้น
การเลือกซื้อแผงแป้นอักขระควรพิจารณารุ่นใหม่ที่เป็นมาตรฐานและสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่
สำหรับเครื่องขนาดกระเป๋าหิ้วไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อปหรือโน้ตบุ๊ค ขนาดของแผงแป้นอักขระยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน เพราะผู้ผลิตต้องการพัฒนาให้เครื่องมีขนาดเล็กลงโดยลดจำนวนแป้นลง แล้วใช้แป้นหลายแป้นพร้อมกันเพื่อทำงานได้เหมือนแป้นเดียว
รวบรวมจาก หนังสือเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ช 0249 เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ สถาบันส่งเสริมารสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ส. 4 วันที่ 4 มิ.ย. 52 แต่ง BLOG

ทำblog

ส.3 วันที่ 28 พ.ค.52 ประกอบ COM

ตรวจเช็ค COMPUTER ถ่ายรูป

ส. 2 วันที่ 21 พ.ค. 52 องค์ประกอบ COMPUTER

องค์ประกอบของ COMPUTER

ส. 1 วันที่ 14 พ.ค. 52 หมักเมล

การสมัคร Gmail